คำถามที่พบบ่อย

Lynx_FAQ

 

 

A : สามารถศึกษาได้จากคลิปนี้เลยครับ

A :เป็นเอกสารที่ยืนยันว่าสินค้าที่เป็นพืชหรือมีส่วนประกอบมาจากพืชนั้นปลอดจากแมลง ศัตรูพืช และเป็นไปตามเงื่อนไขของประเทศปลายทาง ซึ่งจะออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออกสินค้า ดังนั้นใบรับรองสุขอนามัยพืชจึงถือว่าเป็นเอกสารสำคัญอย่างหนึ่งในการนำเข้า-ส่งออก

A : ก่อนจองเรือต้องเตรียมข้อมูลตามภาพนี้เลยครับ

A : ภาษีที่ลูกค้าจะต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้าคือ อากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือสินค้าบางชนิดจะต้องเสียภาษีเพื่อมหาดไทยและภาษีสรรพสามิตด้วย วันนี้เราจะมาสอนวิธีคำนวณภาษีนำเข้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปประเมินค่าใช้จ่ายก่อนนำเข้าสินค้าค่ะ
วิธีคำนวณภาษีนำเข้า
1. อากรขาเข้า = ราคาสินค้า (C.I.F.) x อัตราอากรขาเข้า
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ( ราคาสินค้า C.I.F. + อากรขาเข้า ) x VAT 7%
3. ภาษีนำเข้า = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

A : กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ม.8(3) ผู้นำเข้าสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด โดยคำนวณภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (ราคาสินค้า C.I.F) x อัตราภาษีสรรพสามิต

A : การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย เป็นการเก็บภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สำหรับสินค้าที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือศีลธรรมอันดี หรือสินค้าที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าและบริการที่กรมสรรพสามิตดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ สินค้าที่รัฐต้องการควบคุมการบริโภค เนื่องจากมีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีลักษณะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ ซึ่งได้แก่สินค้าดังต่อไปนี้

  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเชื้อเพลิงหนัก น้ำมันเตา และน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้ว

 
  • เครื่องดื่ม

ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เครื่องดื่ม หมายความว่า สิ่งที่ตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่ม โดยไม่ต้องเจือปนซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์หรือมีแอลกอฮอล์ โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5 อันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ แต่ไม่รามถึงน้ำหรือน้ำแร่ตามธรรมชาติ น้ำกลั่นหรือน้ำกรองสำหรับดื่ม โดยไม่ปรุงแต่ง น้ำนมจืด น้ำนมอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร เครื่องดื่มที่ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นเพื่อขายปลีกเองไดยเฉพาะอันมิได้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย

จัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวาน
2.1 จัดเก็บอัตราตามมูลค่าและตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้ง จัดเก็บภาษี ตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มผงและเครื่องดื่มเข้มข้นเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนัก ถึงผลกระทบตอสุขภาพหากบริโภคเครื่องดื่มดังกล่าว โดยในระยะแรกจะไม่เพิ่มภาระภาษีมากนัก แต่หลังจาก 2 ปีภาระภาษีจะเพิ่มขึ้น และปรับเพิ่มภาษีทุก 2 ปีจนถึงปี 2566
2.2 ดําเนินมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่มีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไปพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวาน เช่น การจัดทําเครื่องหมาย ทางเลือกเพื่อสุขภาพการผลิตเครื่องดื่มที่มีน้ําตาลน้อยหรือไม่มีน้ําตาล การจําหน่ายสินค้าให้เข้าถึงง่ายการจัดทําฉลากโภชนาการแบบ GDA เป็นต้น

  • เครื่องใช้ไฟฟ้า

ผลิตภัณฑ์ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า และให้รวมถึงสิ่งที่ใช้ประกอบกับไฟฟ้าหรือเกี่ยวกับไฟฟ้าด้วย เช่น เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดท้าความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมงและโคมไฟฟ้าและโคมระย้าอื่น ๆ สำหรับติดเพดานหรือผนัง แต่ไม่รวมถึงที่ใช้ส้าหรับให้ ความสว่างแก่ที่สาธารณะกลางแจ้งหรือถนนหลวง

  • แก้วเลคคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่น ๆ แก้วและเครื่องแก้ว

สิ่งของและเครื่องใช้ที่ทำด้วยแก้ว ได้แก่ แก้ว เลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอื่นๆ

  • รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)

รถยนต์ รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่ไม่รวมถึงรถที่เดินบนราง
รถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างไม่เกิน 1 ล้อ รถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และรถยนต์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับใช้เป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกันเช่นรถยนนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
รถยนต์กระบะ หมายความว่า รถยนต์ที่มีตอนหลังเป็นกระบะบรรทุก ซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถ รวมน้้าหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม
รถยนต์โดยสาร หมายถึง รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกันที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

  • เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ

  • น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม

น้ำหอม หัวน้ำหอม น้ำมันหอม และสิ่งที่ทำให้มีกลิ่นหอมต่างๆแต่ไม่รวมถึงหัวน้ำหอมที่ใช้ได้เฉพาะผลิตสินค้า

  • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่นๆ เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์

เครื่องลาดที่ทำจากวัสดุต่างๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
เป็นผืนที่มีวัตถุทอตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไป เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ดังเช่นเครื่องปูลาด และสิ่งทอปูพื้นทั่วไป และให้ความหมายรวมถึงของที่มีลักษณะเป็นพรมและสิ่งทอปูพื้น แต่มีเจตนาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

  • รถจักรยานยนต์

รถที่มีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและให้ความหมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

  • แบตเตอรี่

เซลล์หรือหมู่เซลล์ไฟฟ้าซึ่งต่อกันอยู่อย่างอนุกรมหรืออย่างขนาน หรือทั้ง 2 อย่าง และสามารถเก็บพลังงานและให้พลังงานไฟฟ้าได้

  • กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ

การประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่างๆในสถานบริการเพื่อ หารายได้เป็นธุรกิจ เช่น สถานมหรสพ สถานที่ฉายภาพยนตร์ ไนต์คลับ คาบาร์เรต์ ดิสโกเธค คาราโอเกะ ค็อกเทลเลาจน์ สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวดเป็นต้น

  • กิจการเสี่ยงโชค

การประกอบกิจการในด้านการจัดให้มีการเสี่ยงโชคด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้ได้รับเงินรางวัลหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น สนามแข่งม้า เป็นต้น

  • กิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ

การประกอบกิจการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐให้ดำเนินกิจการได้ เช่น กิจการโทรคมนาคม สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

  • สุรา

วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งดื่มกิน ได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา  สุราแช่ หมาขถึง สุราที่ไม่ได้กลั่น และให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรา แต่ยังมีแรงแอกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ เป็นต้น

  • ยาสูบ

ใบยาหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว

  • ไพ่

ตามพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486 มาตรา 4 ให้ความหมายว่า ไพ่ ซึ่งทำด้วยกระดาษ หรือหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัดถุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และในมาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำไพ่หรือนำไพ่เข้ามา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี และในมาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดขายไพ่เป็นการค้าเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน การออกใบอนุญาตผู้ขอต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ปัจจุบันเก็บภาษีจากไพ่ที่นำเข้าเท่านั้นผู้นำเข้าต้องนำไพ่ประทับตราสรรพสามิตและเสียค่าธรรมเนียมตามชนิดและวัตถุที่ทำไม่เกินร้อยละ 30 บาทและปิดแสตมป์ที่ซองไพ่ที่ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว สำหรับไพ่ที่ผลิตภายในประเทศไม่มีการเก็บภาษีเพราะโรงงานผลิตไพ่เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรมสรรพสามิตจะผูกขาดการผลิตไพ่เพียงผู้เดียว

 
อ้างอิง

A : MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheets หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ในปัจจุบันตามประกาศของสหประชาชาติ เรื่อง ระบบการจำแนกและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals, GHS) กำหนดให้ใช้ SDS เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสื่อสารข้อมูลสารเคมีนอกเหนือจากบนฉลาก และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเป็นระบบเดียวกัน จึงกำหนดให้เรียกว่า Safety Data Sheet (SDS) พร้อมกับได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย (Identification of the substance/preparation and of the Company/undertake)

2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards Identification)

3. องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on Ingredients)มาตรการปฐมพยาบาล (First Aid Measures)

4. มาตรการปฐมพยาบาล (First Aid Measures)

5. มาตรการผจญเพลิง (Fire Fighting Measures)

6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental Release Measures)

7. ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา (Handling and Storage)

8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล (Exposure Controls/Personal Protection)

9. คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ (Physical and Chemical Properties)

10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reactivity)

11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information)

12. ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ (Ecological Information)

13. มาตรการการกำจัด (Disposal Considerations)

14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport Information)

15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory Information)

16. ข้อมูลอื่น (Other Information)

ดังนั้นแล้ว MSDS จึงเป็นเอกสารที่บ่งบอกรายละเอียดที่ควรรู้ของสารเคมีทุกประเภท ซึ่งจะช่วยทำให้เราได้รับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีได้ เพราะในเอกสารดังกล่าวนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในการขนส่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนในการนำอุปกรณ์สารเคมีมาส่งต่อบริษัท จึงถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก และเพราะแบบนั้นจึงทำให้ในขั้นตอนการขนส่งเป็นขั้นตอนที่ควรได้รับความปลอดภัยอย่างยิ่ง

อ้างอิง

http://www.dg-net.org/upload/attach/safety_data_sheet.pdf

http://www.chemtrack.org/board-detail.asp?tid=0&id=258

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=4458

A : เอกสารฉบับนี้ทางโรงงานต้องเป็นผู้ออกเอกสาร นั่นคือ ผู้ผลิตต้องจัดทำเอกสารตัวนี้ให้เรียบร้อย เป็นมาตรฐาน หากสั่งของกับโรงงานใดที่ไม่มีก็สันนิษฐานได้เลยว่าไม่ได้ผลิตเอง แต่เอกสารตัวนี้สามารถขอได้จากผู้ผลิตตัวจริง หากสินค้าไม่มี MSDS ประกอบ เรือก็จะไม่รับสินค้าขึ้นเรือเช่นกัน

A : เวลาที่จะขนส่งสินค้าอันตรายจำพวก สารเคมี หรือ วัตถุที่สามารถระเบิด หรือ ติดไฟ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมต่างๆ สายเรือจะขอเอกสารนี้ ผู้ส่งสินค้ามีหน้าที่ยื่นเอกสารให้สายเรือไปตรวจ ซึ่งบางที่อาจจะให้ผู้ส่งสินค้ากรอกแบบฟอร์มด้วยตัวเอง แต่ปกติ Freight forwarder สามารถทำแทนได้ ขอแค่ให้มี MSDS ที่สมบูรณ์ แต่บางกรณีถึงผู้ส่งสินค้าจะมี MSDS แล้วก็ไม่สามารถส่งสินค้าได้ บางสายเรือหรือบางสายการบินก็ไม่รับส่งสินค้า เช่นกัน

A : โดยหลักการ MSDS หรือ SDS ต้องทำการปรับปรุงทันทีหากพบข้อมูลใหม่ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้สารนั้น และโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีการปรับปรุง (update/revise) ทุก 3 ปี เพื่อให้ผู้จัดทำได้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ หากพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ข้อมูลใน SDS ก็จะเหมือนเดิม แต่ก็จะมีระบุวันที่ทำการ update ล่าสุดไว้ใน SDS

A : ใช่ เอกสารข้อมูลความปลอดภัย จะหมดอายุ OSHA กำหนดให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าต้องได้รับหรือพัฒนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ( SDS ) สิ่งนี้ใช้ได้กับสารเคมีอันตรายทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้า ควรส่ง SDS ที่ อัปเดตภายในสามเดือนนับจากข้อมูลใหม่ที่สำคัญเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายที่ให้มา

A : เป็นอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518

ปัจจุบันไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 184 สมาชิก ประกอบด้วย 183ประเทศและหนึ่งสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปีพ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2526


เป้าหมายของไซเตส

เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น (Native Species)

ระบบการควบคุมของ CITES

การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ( Permit ) และหนังสือรับรอง (Certificate) ในการเข้า ( Import )  ส่งออก ( Export )  นำผ่าน ( Transit ) ส่งกลับออกไป ( Re-export )


ชนิดพันธุ์ในบัญชีอนุรักษ์

การกำหนดรายชื่อชนิดพันธุ์ในบัญชีไซเตสใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทั้งด้านอนุกรมวิธาน (Taxonomy) และข้อมูลด้านชีววิทยา (Biological Parameter) ได้แก่ ข้อมูลสถานภาพของประชากร (Population Status) แนวโน้มประชากร (Population Trends) การแพร่กระจาย (Distribution) สถานะแหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat Availability) แนวโน้มด้านภูมิศาสตร์ (Geographic Trends) และการถูกคุกคาม (Threats) เป็นตัวกำหนด นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทางการค้าและสถานภาพการทางกฎหมายประกอบในการพิจารณาด้วย  โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ห้ามค้าโดยเด็ดขาดเนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยและเพาะพันธุ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกให้ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆด้วย

ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ แพนด้าแดง (Ailurus fulgens) กอริลลา (Gorilla gorilla) ชิมแปนซี (Pan spp.) เสือ (Panthera tigris subspecies) สิงโตอินเดีย (Panthera leo persica) เสือดาว (Panthera pardus) เสือจากัวร์ (Panthera onca) เสือชีตาห์ (Acinonyx jubatus) ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) ปลาตะพัด (Scleropages formosus) ปลายี่สก (Probarbus jullieni) เป็นต้น

ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum)

2. ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆในธรรมชาติ

ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ ซาวันน่ามอนิเตอร์ (Varanus exanthematicus) ปลาฉลามขาว (Carcharadon carcharias) หมีดำ (Ursus americanus) ม้าลายภูเขาฮาร์นมันน์ (Equus hartmannae) นกแก้วจักจั่น (Psittacus erithacus) อีกัวนาเขียว (Iguana iguana) หอยสังข์ราชินี (Strombus gigas) ปลาฉลามปากเป็ดมิสซิสซิปปี (Polyodon spathula) เป็นต้น

ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ แก้วเจ้าจอม (Guaiacum officinale) พะยูง (Dalbergia cochinchinensis)

3. ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำเข้า นั่นคือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด

ตัวอย่างของสัตว์ป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ สลอธ 2 นิ้ว (Choloepus hoffmanni) ชะมดแอฟริกา (Civettictis civetta) เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii)

ตัวอย่างของพืชป่า ที่อยู่ในบัญชีนี้ได้แก่ เมื่อยขาว (Gnetum montanum Markgr.)

ที่มา:

1. เว็บไซต์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (www.fio.co.th)

2. เว็บไซต์ International Fund for Animal Welfare (www.ifaw.org)

A : บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าอันตรายจะต้องมีคุณภาพดีและมิดชิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของวัตถุอันตรายในขณะที่ขนส่ง ซึ่งอาจเกิดการสั่นสะเทือน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้นหรือความดัน รูปแบบภาชนะบรรจุภัณฑ์เป็นไปตามลักษณะและสถานะของวัตถุอันตรายที่ทำการบรรจุ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. บรรจุภัณฑ์ประเภทหีบห่อ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีการบรรจุเสร็จสมบูรณ์ สินค้าที่บรรจุอยู่ภายในพร้อมที่จะนําส่ง เป็นภาชนะแบบปิด สามารถทำหน้าที่ปกปิดสิ่งที่บรรจุได้อย่างมิดชิด และรวมถึงภาชนะบรรจุก๊าซและสิ่งของที่มีขนาดมวลหรือลักษณะซึ่งสามารถขนส่งโดยไม่ต้องมีการบรรจุหีบห่อ หรือขนส่งโดยวางไว้บนแคร่ ในลังโปร่งหรือในอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายอื่นๆ ไม่รวมการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี วัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งแบบเทกองหรือในแท็งก์

สินค้าอันตรายจะมีการแบ่งกลุ่มบรรจุที่กำหนดขึ้นตามระดับความอันตรายของสาร ได้แก่

กลุ่มการบรรจุที่ I คือ สารที่มีระดับความเป็นอันตรายสูง

กลุ่มการบรรจุที่ II คือ สารที่มีระดับความเป็นอันตรายปานกลาง

กลุ่มการบรรจุที่ III คือ สารที่มีระดับความเป็นอันตรายต่ำ

ตัวอักษรที่แสดงกลุ่มการบรรจุ ได้แก่

X สำหรับกลุ่มกลุ่มการบรรจุที่ I, II และ III

Y สำหรับกลุ่มกลุ่มการบรรจุที่ II และ III

Z สำหรับกลุ่มกลุ่มการบรรจุที่ III เท่านั้น

  1. ลักษณะประเภทบรรจุภัณฑ์ เป็นภาชนะบรรจุหนึ่งชิ้นหรือหลายชิ้น รวมถึงส่วนประกอบ หรือวัสดุที่จําเป็นสำหรับทำหน้าที่กักเก็บวัตถุอันตราย และทำหน้าที่ด้านความปลอดภัย

บรรจุภัณฑ์ IBC (Intermediate Bulk Container) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ยก และเคลื่อนย้ายได้ มีลักษณะคงรูปหรือยืดหยุ่น ความจุขึ้นอยู่กับกลุ่มการบรรจุและสถานะของวัตถุอันตราย ผ่านการออกแบบให้ขนถ่ายได้ด้วยเครื่องจักร ผ่านการทดสอบความทนทานต่อความเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน  โดยมีคุณสมบัติดังนี้

      • ความจุ ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร (3,000 ลิตร) สำหรับของแข็งและของเหลวในกลุ่มบรรจุที่ II และ III
      • ความจุ ไม่เกิน 1.5 ลูกบาศก์เมตร สำหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ I เมื่อบรรจุใน IBC ที่ทำจากพลาสติกคงรูป วัตถุประกอบ แผ่นไฟเบอร์ และไม้
      • ความจุ ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สำหรับของแข็งในกลุ่มการบรรจุที่ I เมื่อบรรจุใน IBC ที่เป็นโลหะ
      • ความจุ ไม่เกิน 3.0 ลูกบาศก์เมตร สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 7

บรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ (Large Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์ภายนอก ซึ่งมีสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ภายในบรรจุอยู่ ผ่านการออกแบบให้ยกหรือเคลื่อนย้าย ได้ด้วยเครื่องจักร และมีน้ำหนักสุทธิมากกว่า 400 กิโลกรัม หรือมีความจุมากกว่า 450 ลิตร แต่มีปริมาตรไม่เกินกว่า 3 ลูกบาศก์เมตร

  1. ลักษณะประเภทแท็งก์ (Tank) คือ ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่ติดตั้งอุปกรณ์ทางโครงสร้างและอุปกรณ์ใช้งานที่เกี่ยวข้อง

แท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank Container) คือ แท็งก์ที่มีผนังพร้อมอุปกรณ์ทางโครงสร้าง และอุปกรณ์ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการยกหรือเคลื่อนย้าย สำหรับการขนส่งก๊าซ ของเหลวและวัตถุอันตราย ที่มีลักษณะเป็นผงหรือเป็นเม็ด และมีความจุมากกว่า 450 ลิตร

แทงก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ (Portable tank) คือ แทงก์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ใช้สำหรับการขนส่งหลายระบบ (Multimodal tank) ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร ซึ่งรวมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการขนส่งด้วย

เงื่อนไขข้อมูลที่ต้องติดบนบรรจุภัณฑ์สินค้าอันตราย

บนบรรจุภัณฑ์สินค้าอันตรายจำเป็นต้องแสดงหมายเลขสหประชาชาติ (UN Number)  ชื่อสารเคมี ฉลากแสดงความเสี่ยงหลัก ฉลากแสดงความเสี่ยงรอง และเครื่องหมายสหประชาชาติที่ผ่านการรับรอง (UN Mark)

A : มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ หรือ UN mark คือระบบสากลที่ถูกสร้างขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ มีเพื่อจำแนกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถบรรจุวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวและของแข็งเพื่อให้การขนส่งทางอากาศ ถนน และทางทะเลได้อย่างปลอดภัย องค์การสหประชาชาติได้ออกข้อกำหนดสำหรับการทดสอบและรับรองบรรจุภัณฑ์วัตถุอันตราย โดยข้อกำหนดดังกล่าวใช้กับบรรจุภัณฑ์ประเภทหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์ IBCs และแทงค์ที่ยกและเคลื่อนย้ายได้ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจะต้องแสดงสัญลักษณ์ รหัส ตัวอักษรแสดงกลุ่มการบรรจุ วันเดือนปีที่ผลิต รหัสชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผลการทดสอบปริมาณสูงสุดที่บรรจุได้ รหัสประเทศและหน่วยงานที่รับรองบรรจุภัณฑ์

UN Mark ไม่สามารถนำไปใช้ขนส่งในภาคการขนส่งที่ต่างกันได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ของวัตถุอันตรายที่ใช้ขนส่งทางทะเลก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่าในการรับรอง แต่ไม่สามารถนำบรรจุภัณฑ์นี้มาใช้ในการขนส่งทางอากาศได้ เพราะกฎหมายไม่ให้อำนาจรับรองบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งทางอากาศ