นำเข้าเครื่องจักร

นำเข้าเครื่องจักร

นำเข้าเครื่องจักร เป็นเรื่องจำเป็นของโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้เครื่องจักรที่ไม่มีผลิตในไทย หรือมีผลิตในไทยแต่ประสิทธิภาพของเครื่องจักรนำเข้าสูงกว่า หรือเครื่องจักรที่ผลิตในไทยไม่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือเครื่องจักรนำเข้าราคาถูกกว่าเครื่องจักรที่ผลิตภายในประเทศ

รับนำเข้าเครื่องจักร

บริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ในการให้บริการเดินพิธีการศุลกากร สำหรับนำเข้าเครื่องจักร ขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนBOI  เพื่อยกเว้นภาษีอากรนำเข้าเครื่องจักร

ขอใบเสนอราคา นำเข้าเครื่องจักร

ลูกค้าสามารถส่งรายละเอียดเครื่องจักรที่ต้องการนำเข้า มาที่

Email sales@lynx.co.th หรือโทรสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ 082-113-6899 เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.

รายละเอียดที่ต้องการ สำหรับทำใบเสนอราคา มีดังนี้

  1. ชื่อภาษาอังกฤษ รุ่นของเครื่องจักรและยี่ห้อของเครื่องจักร
  2. รูปภาพหรือแคตตาล็อกหรือโบรชัวร์ของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า
  3. รายละเอียดสถานที่ต้นทาง
  4. รายละเอียดสถานที่ปลายทาง
  5. ปริมาณที่จะนำเข้า
  6. สิทธิ์ลดหย่อนต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการขอ
  7. สิทธิ์ลดหย่อนต่างๆ ที่ลูกค้ามีอยู่แล้ว
นำเข้าเครื่องจักร ประเภทเครน

นำเข้าเครื่องจักร ประเภทเครน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร

นำเข้าเครื่องจักร ขนเข้าโรงงาน

นำเข้าเครื่องจักร

นำเข้าเครื่องจักร ขนออกจากตุ้

นำเข้าเครื่องจักร

นำเข้าเครื่องจักร ขนลงจากตู้คอนเทนเนอร์

นำเข้าเครื่องจักร

“เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานเปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ ลม ก๊าซไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ฟลายวีล พูลเลย์ สายพานเพลา เกียร์หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน (จาก : พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535)

เครื่องจักรกล มีหลายประเภทผลิตภัณฑ์  การแบ่งประเภทการนำเข้าเครื่องจักรในที่นี้แบ่งตามพิกัดอัตราศุลกากร โดยแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน  แบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้

  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมก่อสร้าง
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพ์
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมยางหรือพลาสติก
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมเหมืองแร่
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • เครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  • เครื่องจักรงานโลหะกรรมหรือหล่อโลหะและ
  • เครื่องจักรใช้ในการเกษตร
  • เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป

ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องจักร

ผู้ที่ต้องการนำเข้าเครื่องจักร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ทำการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในระบบกรมศุลกากร ทางบริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด เรามีบริการเป็นตัวแทนลงทะเบียนให้กับผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  2. ตรวจสอบพิกัดภาษีของเครื่องจักรว่า เครื่องจักรดังกล่าวต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าหรือไม่ เช่น ใบอนุญาตสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น และพิกัดภาษีดังกล่าวยังสามารถตรวจสอบเรื่องการใช้สิทธิลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรี เช่น จีน อาเซียน เป็นต้น เพื่อใช้ในการลดอัตราภาษีอากร ทำให้ผู้นำเข้าไม่ต้องชำระภาษีอากรในการนำเข้าเครื่องจักรแบบเต็มจำนวน ทั้งนี้พิกัดภาษีที่ตรวจสอบหากมีความถูกต้องทำให้ลดขั้นตอนเรื่องการผิดกฎหมายศุลกากรที่จะทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งมอบสินค้า และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าปรับ หากพิกัดภาษีไม่ถูกต้อง โดยการหาพิกัดภาษีจะต้องใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้
    • ชื่อภาษาอังกฤษ รุ่นของเครื่องจักรและยี่ห้อของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า
    • รูปภาพหรือแคตตาล็อกหรือโบรชัวร์ของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า
    • หน้าที่การใช้งานของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า สามารถทำงานได้กี่หน้าที่ ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมัน ใช้ในการผลิตอะไร เป็นต้น

ทางบริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด เรามีบริการให้กับผู้นำเข้าในการส่งข้อมูลทั้ง 3 รายการมาให้เราตรวจสอบกับผู้ชำนาญการที่อนุมัติโดยกรมศุลกากรก่อนการนำเข้า เพื่อความถูกต้องและทางเราจะให้คำปรึกษาการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อให้ทางผู้นำเข้าได้รับประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องงของการลดหย่อนอากร การใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งการลดหย่อนอากร ตลอดจนการส่งมอบถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ปราศจากค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าปรับ หรือค่า STORAGE  ในกรณีที่พิกัดไม่ถูกต้องกับเครื่องจักรชนิดนั้น เครื่องจักรส่วนใหญ่จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ค่อนข่างต่ำ ทั้งนี้อัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับพิกัดศุลกากรของเครื่องจักรแต่ละชนิด  ซึ่งสามารถเช็ครายละเอียดพิกัดเบิ้องต้นได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร  http://itd.customs.go.th/

กรณีที่ผู้นำเข้าได้รับสิทธิ์ประโยชน์ในการนำเข้าเครื่องจักรจากกรมส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือ การนิคมอุตสาหกรรม (IEAT) หรือ กรมศุลกากร (FREEZONE) การนำเข้าเครื่องจักรจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้รายละเอียดการลดหย่อนภาษีดูได้จากบัตรส่งเสริมของแต่ละบริษัทหรือจากใบอนุมัติจาก IEAT หรือใบจัดตั้งเขต FREEZONE ที่ออกโดยกรมศุลกากร ทางบริษัท ลิ้งซ์จิสติกส์ อินเตอร์ เฟรท จำกัด สามารถตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ของผู้นำเข้าและบอกรายละเอียดของเอกสารว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างกับสิทธิประโยชน์นั้นๆ

การนำเข้าเครื่องจักรแบบหลายเที่ยวเรือ

สิทธิประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการนำเข้าเครื่องจักร คือ พิธีการหลายเที่ยวเรือ

“หลายเที่ยวเรือ” สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้จัดทำพิธีการใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือต้องเป็นของที่นำเข้ามาเพื่อประกอบเป็นของครบชุดสมบูรณ์ ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ภาค ๑ หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร

ข้อ ๒ (ก) “ประเภทที่ระบุถึงของใด ให้หมายรวมถึงของนั้นที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สำเร็จ หากว่าในขณะนำเข้ามีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วและให้หมายรวมถึงของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว (หรือที่จำแนกเข้าประเภทของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วตามนัยแห่งหลักเกณฑ์นี้) ที่นำเข้ามาโดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกัน”

สินค้านำเข้าหลายเที่ยวเรือ คือการนำเข้าสินค้าที่ไม่สามารถขนส่งเข้ามาในครั้งเดียวได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนมากจะเป็นการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการผลิตสินค้าทั้งรายการผลิต ซึ่งการจัดหาพิกัดอัตราภาษีจะจัดเข้าประเภทพิกัดของเครื่องจักรที่ประกอบสมบูรณ์แล้วเพียงพิกัดเดียว ง่ายกว่าการแยกประเภทชิ้นส่วนเข้ามาแต่ละครั้ง / พิกัดอัตราภาษีก็จะแยกไปตามประเภท ซึ่งจะทำให้ภาษีที่ต้องชำระอาจสูงขึ้น

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าเครื่องจักรหลายเที่ยวเรือ

  1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  3. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
  4. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
  5. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) ถ้ามี
  6. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License) ถ้าพิกัดต้องขอใบอนุญาต
  7. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีใช้สิทธิลดอัตราอากร
  8. ต้องมีแผนโครงการ (Project planning) หรือพิมพ์เขียว (Blue print) โครงการที่แสดงการติดตั้ง และความสัมพันธ์ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้าแต่ละเที่ยวเรือให้มีความสัมพันธ์กันแบบครบชุดสมบูรณ์
  9. เอกสารประกอบอื่นเช่น รูปภาพ แคทตาล๊อก (Catalog) เป็นต้น
  10. ต้องมีหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหมดภายใต้โครงการเดียวกัน พร้อมสัญญา
  11. กำหนดการนำเข้าของสินค้าแต่ละชิ้น

อัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักร

โดยปกติ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ จะมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 15% แต่ผู้นำเข้าสามารถขอลดหย่อนหรือยกเว้นได้ ถ้าเข้าตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข

สิทธิลดหย่อน

ผู้นำเข้าเครื่องจักรสามารถขอรับการส่งเสริมการนำเข้าเครื่องจักร โดยจะได้รับเป็นสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรในการนำเข้าเครื่องจักร ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 28 และ มาตรา 29 มีรายละเอียดดังนี้

มาตรา 28

ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ แต่เครื่องจักรนั้นต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้

มาตรา 29

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การให้การส่งเสริมแก่กิจการใดหรือแก่ผู้ขอรับการส่งเสริมรายใดไม่สมควรให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 28 คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมแก่กิจการนั้นหรือผู้ขอรับการส่งเสริมรายนั้น และรายต่อๆไป โดยให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเพียงกึ่งหนึ่ง หรือจะไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเลยก็ได้

ผู้อ่าน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้จาก เอกสารนำเข้าเครื่องจักรของ https://www.boi.go.th

นำเข้าเครื่องจักรแบบได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

Thailand Board of Investment (BOI) หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักร เป็นส่วนหนึ่งของต้นกำเนิดการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานตามมา และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ต่อเนื่องกันไป เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ

ผู้อ่าน สามารถศึกษาข้อมูลของ BOI เพิ่มเติม ได้จาก วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์เครื่องจักรของ https://www.boi.go.th

รูปแบบการนำเข้าเครื่องจักร

เราสามารถให้บริการนำเข้าเครื่องจักรหลากหลายรูปแบบดังนี้

  • นำเข้าเครื่องจักรทางเรือ เรามีแผนก ขนส่งทางเรือ ที่มีความเชี่ยวชาญให้บริการแบบครบวงจร
  • นำเข้าเครื่องจักรทางเครื่องบิน ในกรณีเร่งด่วน เราสามารถให้บริการนำเข้า มาทางเครื่องบินได้
  • นำเข้าเครื่องจักรทางรถยนต์